แก๊สหัวเราะคืออะไร ใช้ทางทันตกรรมอย่างไร ?

แก๊สหัวเราะ คืออะไร?
แก๊สหัวเราะ (Laughing gas) หรือ ไนตรัสออกไซด์ (Nitrous Oxide) คือสารประกอบทางเคมีชนิดหนึ่ง ไร้สี ไร้กลิ่น และไม่ติดไฟ จัดอยู่ในกลุ่มของ “สารระเหย (Inhalant)” ที่มีฤทธิ์ในการกดระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งหมายความว่าแก๊สชนิดนี้จะชะลอการทำงานของสมอง รวมไปถึงระบบหายใจและการทำงานของหัวใจ
อุตสาหกรรมไหนบ้างที่ถูกนำไปใช้?
- ใช้ในทางการแพทย์ ไนตรัสออกไซด์ทางการแพทย์ใช้สำหรับการดมยาสลบและบรรเทาอาการปวด บางครั้งใช้เป็นยาเสริมของการดมยาสลบในการผ่าตัด ช่วยลดปริมาณการใช้ยาอื่น ๆ และอำนวยความสะดวกในการกำจัดหลังการผ่าตัด
- ใช้ในเชิงพาณิชย์ เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารนำเอาแก๊สชนิดนี้มาใช้ในกระป๋องวิปป์ครีม
- ใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ เพื่อเพิ่มสมรรถนะของเครื่องยนต์ และบรรจุในถุงลมนิรภัยในรถยนต์
การนำแก๊สหัวเราะไปใช้แบบผิดประเภท
การนำไนตรัสออกไซด์มาใช้แบบ “ผิดประเภท” ก็คือการนำเอามาเสพเพื่อความบันเทิง เนื่องจากไนตรัสออกไซด์ส่งผลให้รู้สึกมึนเมาหรือเคลิบเคลิ้ม ในประเทศไทย มีรายงานข่าวถึงความนิยมในแก๊สหัวเราะที่เพิ่มสูงขึ้นในบางกลุ่ม จากข้อมูลของแผนกแรกรับของ ศูนย์บำบัดยาเสพติด เอกชน เดอะดอว์น ยังมีกลุ่มที่เป็นกลุ่มคนไทยฐานะดี อายุตั้งแต่ 20 ถึง 40 ปี ที่เปลี่ยนจากการใช้แก๊สหัวเราะเป็นครั้งคราว มาเป็นผู้ใช้ประจำในระหว่างช่วงล็อกดาวน์ที่ผ่านมา
แก๊สหัวเราะใช้ทางทันตกรรมอย่างไร?
แก๊สหัวเราะเมื่อสูดดมเข้าไปแล้วจะให้ความรู้สึกเคลิ้มสุข ผ่อนคลาย จึงถูกนำมาใช้ในทางทันตกรรมเพื่อลดความกังวลและลดความเจ็บปวดให้แก่คนไข้ขณะทำการรักษา นิยมใช้ในการทำหัตถการทางทันตกรรมสำหรับเด็ก นอกจากนี้ผู้ใหญ่ที่มีความเครียดและกังวลกับการทำฟันก็สามารถใช้ได้เช่นกัน
แก๊สหัวเราะมีการใช้อย่างแพร่หลายในต่างประเทศมาอย่างยาวนานมากกว่า 100 ปี แต่ยังถือเป็นทางเลือกใหม่สำหรับคนไทย เพราะความนิยมในการใช้และการรับรู้ถึงประโยชน์ทางการแพทย์ค่อนข้างน้อย หากผู้ที่มีความสนใจการรักษาภายใต้แก๊สไนตรัสออกไซด์ กดที่นี่ เพื่อดูสถานที่ที่ให้บริการ

อาการขณะใช้แก๊สหัวเราะ
- ศีรษะเบา ตัวเบา
- รู้สึกชาที่แขนขา/ใบหน้า
- เคลิบเคลิ้ม
- ตาเป็นประกาย
- กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
อาการข้างเคียง
อาการข้างเคียงเกิดจากการรับแก๊สเกินขนาด
- คลื่นไส้ อาเจียน
- เวียนศรีษะ
หากมีอาการดังกล่าวให้รายงานแก่ทันตแพทย์เพื่อหยุดการให้ไนตรัสออกไซด์ทันที

ข้อควรระวัง
แก๊สหัวเราะ หรือ ไนตรัสออกไซด์สามารถทำปฏิกิริยายากับยาได้หลายรายการ ก่อนเข้ารับการรักษาแพทย์จึงจำเป็นต้องทราบประวัติการใช้ยาที่เป็นปัจจุบันของผู้ป่วย และอาจต้องสั่งหยุดยาเหล่านั้นก่อนที่จะใช้แก๊สไนตรัสออกไซด์ จึงถือเป็นข้อปฏิบัติสำคัญที่ผู้ป่วยต้องแจ้งให้แพทย์ พยาบาล ทราบทุกครั้งว่าตนเองมีโรคประจำตัวและมีการใช้ยาประเภทใดอยู่บ้าง
แหล่งที่มา :